เมนู

ด้วยอาการ 6 ดังนี้. แต่ปัญจกะเหล่านี้ ย่อมหาเป็นปัญจกะไม่. เพราะใน
หมวดซึ่งอวหารย่อมสำเร็จได้ด้วยบทหนึ่ง ๆ นั้น ท่านเรียกว่า ปัญจกะ. ก็ใน
คำว่า ปญฺจหากาเรหิ นี้ อวหารอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมสำเร็จไว้ด้วยบท
แม้ทั้งหมด. ก็ปัญจกะทั้งหมดเหล่าใด ที่ท่านมุ่งหมายใน 6 บทนั้นข้าพเจ้า
แสดงไว้แล้ว, แต่ข้าพเจ้ามิได้ประกาศอรรถแห่งปัญจกะแม้เหล่านั้นทั้งหมดไว้.
ในที่นี้ อรรถกถาทั้งปวงยุ่งยากฟั่นเฝือ มีวินิจฉัยเข้าใจยาก ด้วยประการฉะนี้.
เพราะฉะนั้น พึงกำหนดอวหาร 25 ประการเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าประมวลปัญจกะ
5 หมวด มาแล้วแสดงไว้ให้ดี.

[

ปัญจกะ 5 หมวด ๆ ละ 5 ๆ รวมเป็นอวหาร 25

]
ที่ชื่อว่า ปัญจกะ 5 คือ หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยภัณฑะ
ต่างกันเป็นข้อต้น 1 หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยภัณฑะชนิดเดียวเป็น
ข้อต่าง 1 หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยอวหารที่เกิดแล้วด้วยมือของตน
เป็นข้อต้น 1 หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยบุพประโยคเป็นข้อต้น 1
หมวดแห่งอวหาร 5 ที่กำหนดด้วยการลักด้วยอาการขโมยเป็นข้อต้น 1. บรรดา
ปัญจกะทั้ง 5 นั้น นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ย่อมได้ด้วย
อำนาจแห่งบทเหล่านี้ คือ อาทิเยยฺย พึงตู่เอา 1 หเรยฺย พึงลักไป 1
อวหเรยฺย พึงฉ้อเอา 1 อิริยาปถํ วิโกเปยฺย พึงยังอิริยาบถให้กำเริบ 1
ฐานา จาเวยฺย พึงให้เคลื่อนจากฐาน 1. ปัญจกะทั้งสองนั้น ผู้ศึกษาพึง
ทราบโดยนัยดังที่ข้าพเจ้าประกอบแสดงไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล. ส่วนบทที่ 6
ว่า สงเกตํ วีตินาเมยฺย ( พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย ) นั้น เป็นของ
ทั่วไปแก่ปริกัปปาวหาร และนิสสัคคิยาวหาร. เพราะฉะนั้น พึงประกอบบท
ที่ 6 นั้น เข้าด้วยอำนาจบทที่ได้อยู่ในปัญจกะที่ 3 และที่ 5. นานาภัณฑ-
ปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว.

[

สาหัตถิกปัญจกะ มีอวหาร 6 อย่าง

]
สาหัตถิกปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ สาหัสถิกปัญจกะ มีอวหาร 5 อย่าง
ดังนี้ คือ สาหัตถิกะ ถือเอาด้วยมือของตนเอง 1 อาณัตติกะสั่งบังคับ 1
นิสสัคคิยะ ซัดขว้างสิ่งของไป 1 อัตถสาธกะ ยังอรรถให้สำเร็จ 1 ธุรนิกเขปะ
เจ้าของทอดธุระ 1.
บรรดาอวหาร 5 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สาหัตถิกะ ได้แก่ ภิกษุลักสิ่งของ
ของผู้อื่น ด้วยมือของตนเอง. ที่ชื่อว่า อาณัตติกะ ได้แก่ ภิกษุสั่งบังคับผู้อื่น
ว่า จงลักสิ่งของของคนชื่อโน้น. ชื่อว่า นิสสัคคิยะ ย่อมได้การประกอบบทนี้ว่า
พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย รวมกับคำนี้ว่า ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี
โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก* ดังนี้. ที่ชื่อว่า อัตถสาธกะ
ได้แก่ ภิกษุสั่งบังคับว่า ท่านอาจลักสิ่งของชื่อโน้นมาได้ ในเวลาใด, จงลัก
มาในเวลานั้น. บรรดาภิกษุผู้สั่งบังคับและภิกษุผู้ลัก ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ไม่มี
อันตรายในระหว่าง ลักของนั้นมาได้, ภิกษุผู้สั่งบังคับ ย่อมเป็นปาราชิกใน
ขณะที่สั่งนั่นเอง ส่วนภิกษุผู้ลัก เป็นปาราชิกในเวลาลักได้แล้ว นี้ชื่อว่า
อัตถสาธกะ. ส่วนธุรนิกเขปะ พึงทราบด้วยอำนาจทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ฉะนั้นแล.
คำอธิบายมานี้ ชื่อว่า สาหัตถิกปัญจกะ.

[

บุพประโยคปัญจกะ มีอวหาร 5 อย่าง

]
บุพประโยคปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ บุพประโยคปัญจกะ มีอวหาร
แม้อื่นอีก 5 อย่าง ดังนี้ คือ บุพประโยค ประกอบในเบื้องต้น 1 สหประโยค
ประกอบพร้อมกัน 1 สังวิธาวหาร การชักชวนไปลัก 1 สังเกตกรรม การ
นัดหมายกัน 1 นิมิตตกรรม การทำนิมิต 1. บรรดาอวหารทั้ง 5 เหล่านั้น
//* วิ. มหา. 1/96.